รักษาสิว

รักษาสิว เป็นปัญหาของคนที่มีสิวขึ้นไม่ยอมหายสักที แม้ว่าสิวจะไม่ได้อันตรายกับร่างกายแต่เรียกได้ว่าหายนะบนใบหน้าของใครหลายๆ คน เพราะหากสิวขึ้นบนในหน้าก็จะมาบดบังความสวยหล่อ แถมยังทำให้หมดความมั่นใจในการออกไปข้างนอกบ้านอีกด้วย จะออกจากบ้านแต่ละทีไม่มีวามมั่นใจ ต้องโบ๊ะแป้ง ทารองพื้น ทาคอนซีลเลอร์ ให้สิวพวกนี้หายไป แต่อย่างไรก็ตามปฏิเสธไม่ได้ว่าสิวจะคอยวนเวียนอยู่ในชีวิตของเราตลอด ในบทความนี้จะมาพูดถึงการรักษาสิวด้วยวิธีการต่างๆ ว่ามีอะไรบ้าง

รักษาสิว

วิธีรักษาสิว

รักษาสิวที่หน้าและลำตัวมีด้วยกันหลายวิธี โดยแพทย์จะพิจารณาวิธีรักษาจากอาการ ว่ารุนแรงเพียงใด สาเหตุของสิวเกิดจากปัจจัยใด แล้วจึงใช้วิธีรักษาที่เหมาะสมกับคนไข้แต่ละราย โดยการรักษานิยมใช้ควบคู่กันหลายวิธี เพราะปัจจัยที่ทำให้เกิดสิวมักมาจากหลายอย่างประกอบกัน

การรักษาสิวโดยแพทย์ มีหลักการการรักษาดังนี้

  1. ทำให้กระบวนการผลัดเซลล์ผิว (follicular keratinization) กลับมาเป็นปกติ
  2. ลดการทำงานของต่อมไขมัน (Sebaceous gland)
  3. ลดจำนวนแบคทีเรียบริเวณรูขุมขน โดยเฉพาะแบคทีเรีย P.acne
  4. ต่อต้านหรือลดการอักเสบ

วิธีรักษาสิวด้วยการรักษาเฉพาะที่

  • การทำความสะอาดผิว

รักษาสิวด้วยการทำความสะอาดที่เหมาะสมเพื่อลดการเกิดสิว คือควรทำความสะอาดใบหน้าและร่างกายส่วนบนวันละ 2 ครั้ง ด้วยน้ำยาทำความสะอาดที่มีค่า pH ที่เหมาะสม ประมาณ pH 5-6 หากมีค่า pH สูงเกินไป เป็นด่างเกินไป จะทำให้ระคายเคืองผิวและน้ำมันบนผิวเสียสมดุลได้ สำหรับผู้ที่เป็นสิวง่าย หรือกำลังเป็นสิวรุนแรง แพทย์อาจจะให้ใช้น้ำยาทำความสะอาดที่มีส่วนผสมของตัวยาด้วย อย่าง Benzoyl peroxide, salicylic acid, หรือ sulfur

  • การใช้ยาทาภายนอก

วิธีลดสิว รักษาสิวด้วยยาทาภายนอกมีหลายตัว แต่ละตัวออกฤทธิ์ต่างกัน เหมาะกับใช้รักษาสิวต่างชนิดกัน ดังนี้

1. Retinoids ยาในกลุ่มอนุพันธุ์วิตามินเอ

Retinoid ชนิดทา ใช้รักษาสิวจะสามารถลดการอุดตันและต้านการอักเสบได้ เรียกว่าสามารถรักษาสิวได้ครอบคลุมทั้งสิวอุดตันและสิวอักเสบ แต่มีข้อเสียคืออาจทำให้ผิวแห้งและระคายเคืองได้ เนื่องจากมักมีส่วนผสมของสารละลายอย่างแอลกอฮอล์ในยาทา นอกจากนี้ยังทำให้ผิวบางลงและไวต่อแสงมากขึ้น ผู้ที่ใช้ Retinoid ชนิดทารักษาสิวจึงควรทาครีมกันแดดในตอนกลางวันเป็นประจำ

2. Benzoyl peroxide

การใช้ Benzoyl peroxide หรือยาที่เราจะรู้จักกันในชื่อ “Benzac” เป็นวิธีการรักษาสิวที่นิยมใช้กันมากที่สุด สามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายยาด้วย เนื่องจากยา Benzoyl peroxide สามารถออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ ช่วยลดจำนวนแบคทีเรียด้วยการปล่อย free oxygen radicals ออกมาทำลายเชื้อแบคทีเรีย

Fact : “free oxygen radicals เป็นอนุมูลอิสระประเภทหนึ่ง ที่สามารถจับกับส่วนต่างๆของเซลล์แบคทีเรีย และสามารถทำลายแบคทีเรียได้”

ข้อดีของ Benzoyl peroxide คือไม่ค่อยพบผู้ที่แพ้ยามากนัก อีกทั้งตัวยายังออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อได้เหมือนกับยาปฏิชีวนะ แต่เชื้อแบคทีเรียไม่สามารถพัฒนาตัวเองให้ทนทานยา Benzoyl peroxide ได้เหมือนกับยาปฏิชีวนะ ยา Benzoyl peroxide จึงใช้ได้ทั่วไป และไม่ได้ถูกจำกัดการใช้รักษาสิวเพื่อป้องกันเชื้อดื้อยาเหมือนกับยาปฏิชีวนะ

3. Topical Antibiotics ยาปฏิชีวนะชนิดทา

ยาปฏิชีวนะชนิดทาที่ใช้กันเพื่อรักษาสิวมีอยู่ 4 ตัว ได้แก่ Erythromycin, Clindamycin, Metronidazole และ Dapsone

ในปัจจุบันยังคงมีการใช้ยา Erythromycin, Clindamycin และ Metronidazole ชนิดทาเป็นหลักในการรักษาสิวอยู่ แต่จะไม่ได้ใช้ตัวยาเดียว เนื่องจากเชื้อดื้อยาเพิ่มขึ้น แพทย์จะนิยมให้ใช้เป็นยาสูตรผสมร่วมกับ Benzoyl peroxide หรือใช้ยาทาสองตัวควบคู่กัน เพื่อให้เชื้อดื้อยาน้อยลง

Dapsone เป็นอีกตัวนึง แต่ยังไม่ได้มีใช้ในประเทศไทย ใช้เพื่อรักษาสิวอักเสบ เนื่องจากควบคุมอาการอักเสบได้ดี อีกทั้ง Dapsone แบบทายังปลอดภัยกว่า Dapsone แบบยาสำหรับทาน เพราะยาตัวนี้อาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้หากใช้กับผู้ที่ป่วยเป็นโรค G6PD หรือที่เรียกกันว่าโรคแพ้ถั่วปากอ้า แต่ Dapsone นี้ไม่สามารถใช้ร่วมกับ Benzoyl peroxide ได้ เพราะยาจะทำปฏิกิริยากันจนเกิดเป็นรอยสีส้มบนผิวหนังได้

Fact: “โรค G6PD เป็นโรคที่ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่ายเมื่อร่างกายได้รับยาหรือสารพิษ ดังนั้นต้องระวังในการใช้ยา NSAIDs บางชนิด ยาแอสไพริน และยาปฏิชีวนะ”

4. Salicylic Acid

Salicylic Acid เป็นกรดธรรมชาติที่สามารถออกฤทธิ์ลดการอุดตันและฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้เมื่อใช้รักษาสิว แต่ก็ให้ผลน้อยกว่าการใช้ Retinoid และ Benzoyl peroxide ยังสามารถช่วยในการผลัดเซลล์ผิวได้ด้วย ทำให้ keratinocyte เกาะตัวกันได้น้อยลง ลดการเกิดสิว แต่ในขณะเดียวกันก็อาจทำให้ระคายเคืองได้

5. Azelaic Acid

Azelaic Acid เป็นกรดธรรมชาติเหมือนกับ Salicylic Acid สามารถออกฤทธิ์เป็นยาต้านจุลชีพ (antimicrobial) และช่วยลดการอุดตันได้ นอกจากนี้ Azelaic Acid ยังเป็นสารต้านการสร้างเม็ดสี (Tyrosinase inhibitor) สามารถช่วยลดรอยดำจากสิวหลังการรักษาสิวได้อีกด้วย ทั้งนี้การใช้ Azelaic Acid ค่อนข้างอันตรายหากใช้ไม่ถูกวิธี หากใช้มากเกินไปอาจทำให้ผิวไหม้ แสบร้อน หรือเกิดแผลพุพองได้

การรักษาสิวที่มีผลทั่วร่างกาย

  • การใช้ยาปฏิชีวนะและยาต้านเชื้อแบคทีเรีย (Antibiotic and antibacterial agents)

ยาปฏิชีวนะและยาต้านเชื้อแบคทีเรียแบบทานที่นิยมใช้กันมีหลายชนิด มีทั้งใช้ตัวเดียวเดี่ยวๆ และใช้เป็นสูตรยาสองตัวร่วมกัน ซึ่งยาปฏิชีวนะแต่ละตัวมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป แล้วแต่ว่าแพทย์จะพิจารณาให้ใช้ในรักษาสิวกรณีใด แต่การใช้ยาปฏิชีวนะและยาต้านเชื้อแบคทีเรียค่อนข้างจำกัดการใช้อยู่มาก เพื่อป้องกันเชื้อดื้อยาเพิ่มมากขึ้น

  • การรักษาด้วยฮอร์โมน (Hormonal Therapy)

การรักษาด้วยฮอร์โมนมีจุดมุ่งหมายเพื่อต่อต้านผลของฮอร์โมนแอนโดรเจน และลดการสร้างฮอร์โมนแอนโดรเจนชนิดต่างๆ จากทั้งที่รังไข่และต่อมหมวกไต ต้นเหตุของการเกิดสิว ซึ่งยาที่ใช้รักษาสิวด้วยการควบคุมฮอร์โมน มีดังนี้

ยาคุมกำเนิดแบบทาน (Oral Contraceptives) ยาคุมกำเนิดเป็นยาที่มีผลกับระดับฮอร์โมน นิยมใช้เพื่อรักษาสิวในเพศหญิง โดยการออกฤทธิ์ของยาคุมกำเนิดจะช่วยรักษาสิวได้ด้วยการออกฤทธิ์ 4 อย่าง ได้แก่

  • ช่วยลดปริมาณ androgen ที่ผลิตจากอวัยวะสืบพันธุ์ โดยจะไปกดการสร้าง LH หรือ luteinizing hormone ที่เป็นฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า ทำหน้าที่กระตุ้นให้ร่างกายสร้างฮอร์โมน androgen
  • ลดปริมาณของ free testosterone เพื่อไม่ให้ free testosterone ในเลือดถูกดึงไปสร้างเป็น Dihydrotestosterone (DHT) ที่ออกฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของต่อมไขมัน และการเพิ่มจำนวนของ keratinocyte ได้มาก โดยการดึง free testosterone ไปสร้างเป็น sex hormone-binding globulin
  • ยาจะไปยับยั้งการทำงานของ 5-α reductase เอนไซม์ตัวนึงที่มีหน้าที่เปลี่ยน testosterone ให้กลายเป็น DHT
  • ออกฤทธิ์ต่อต้านผลของฮอร์โมนเพศชาย สามารถขัดขวางตัวรับของ androgen receptor ที่อยู่บนเซลล์ keratinocytes และ sebocytes ทำให้ androgen ไม่สามารถออกฤทธิ์กับเซลล์ทั้งสองตัวได้

Gonadotropin-Releasing Hormone Agonists : เป็นยาชนิดหนึ่งที่ออกฤทธิ์ทำลายวงจรการปล่อย gonadotropin ซึ่งเป็นกลุ่มฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า ออกฤทธิ์กระตุ้นให้เกิดการสร้างฮอร์โมน androgen ทำให้ปริมาณฮอร์โมน androgen ในร่างกายลดลง

การรักษาสิวโดยการใช้ยา Isotretinoin

วิธีรักษาสิวด้วยยา Isotretinoin สำหรับใช้ทาน นิยมใช้ในผู้ที่เป็นสิวชนิด nodular ที่รุนแรงปานกลาง และรุนแรงมาก หรือในกรณีที่รักษาไม่หากจากเชื้อดื้อยา โดยตัวยาจะออกฤทธิ์

  • ยับยั้งการทำงานของต่อมไขมัน
  • ลดการอักเสบ
  • ช่วยให้การผลัดเซลล์ผิวเป็นปกติ
  • ช่วยลดจำนวนแบคทีเรีย P.acne ในทางอ้อมจากปริมาณ sebum ที่ลดลง

ทั้งนี้การออกฤทธิ์ของ Isotretinoin ทางการแพทย์ยังไม่ได้ทราบผลทั้งหมดอย่างชัดเจน ผลการรักษาหลังหยุดยาจึงอาจอยู่นานถึง 1 ปี แต่บางกรณีก็อาจอยู่เพียง 2 – 4 เดือนโดยไม่ทราบสาเหตุว่าปัจจัยใดทำให้ระยะเวลาการออกฤทธิ์แตกต่างกันมาก

Isotretinoin ออกฤทธิ์ครอบคลุมมาก และเมื่อใช้รักษาสิวก็สามารถรักษาได้ผลดีเป็นส่วนใหญ่ แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถพบผลข้างเคียงมาก ทั้งที่เป็นอาการข้างเคียงเล็กน้อยและรุนแรง

วิธีการรักษาสิวโดยการควบคุมอาหาร

อาหารบางอย่างมีผลทำให้เกิดสิวได้ อย่างเช่นนม หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม และ อาหารที่ทำให้มีน้ำตาลในเลือดสูง มีงานวิจัยที่ยืนยันได้ว่าการงดอาหารเหล่านี้เป็นวิธีลดสิว หรือสามารถรักษาสิวได้ ดังนั้นการควบคุมอาหารจึงเป็นทางเลือกที่สามารถทำได้ร่วมกับการรักษาอื่นๆ แต่ไม่ได้การันตีผลลัพธ์แต่อย่างใด

รักษาสิว

วิธีรักษาสิวด้วยหัตถการต่างๆ

  • การกดสิว (Comedone extraction)

การกดสิวเป็นวิธีการรักษาที่นิยมใช้กันในอดีต โดยเฉพาะการรักษาสิวอุดตันหัวเปิด แต่การแพทย์ปัจจุบันพบว่าการรักษาสิวด้วยการกดสิวเพียงอย่างเดียวไม่สามารถรักษาสิวได้ การกดสิวอุดตันหัวเปิดก็เป็นการทำเพื่อเหตุผลด้านความสวยงามเท่านั้น ไม่ได้ลดสาเหตุการเกิดสิวแต่อย่างใด

หากต้องการรักษาด้วยการกดสิว ควรใช้ยาหรือใช้การรักษาวิธีอื่นๆ ที่รักษาสิวที่ต้นเหตุควบคู่ไปด้วย

  • การฉีด corticosteroids เข้าที่สิวโดยตรง

วิธีการรักษาสิวแบบนี้มีประโยชน์ในผู้ป่วยที่เป็นสิว ที่มีการอักเสบและ ก้อนใต้ผิวหนัง (nodular acne ) ข้อดีคือสามารถทำให้สิวยุบได้อย่างรวดเร็ว หายเจ็บ ทำได้โดยไม่ต้องกรีดหรือถ่ายของเหลวออกจากสิวก็ได้ แต่มีความเสี่ยงการเกิดรอยแผลเป็นยุบหลังสิวหายได้

  • การใช้สารเคมีลอกผิว (Chemical peel)

วิธีรักษาสิวด้วยการใช้สารเคมีลอกผิว เป็นการลอกผิวชั้นตื้นๆ (ผิวหนังชั้นนอกสุด stratum corneum) ออกไปด้วยสารเคมี เพื่อช่วยในกระบวนการผลัดเซลล์ผิว ป้องกันการก่อตัวของ keratinocyte ในรูขุมขน ไม่ค่อยเป็นที่นิยมในประเทศไทย นิยมทำในผู้ที่ไม่สามารถรักษาสิวด้วยวิธีอื่นได้ อย่างเช่นผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ที่ไม่สามารถใช้ยาบางตัวได้

  • การทำเลเซอร์และการบำบัดด้วยแสง

การรักษาสิวด้วยการทำเลเซอร์และการบำบัดด้วยแสง เป็นวิธีการที่มาใหม่ และยังมีพัฒนาอยู่เรื่อยๆ เช่นการใช้ Pulse dye laser 595nm (vBeam), Copper-Bromide laser 578nm (DualYellow), Diode laser 1450nm, Long-pulse Nd:YAG laser 1064nm, Er:Glass laser 1550nm เป็นต้น

เนื่องจากมีผลข้างเคียงน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการใช้ยา และให้ผลการรักษาที่ดีมาก สิวยุบเร็ว รอยแดงจางลงเร็ว และ ลดโอกาสการเกิดรอยดำ และแผลเป็นสิว การใช้เลเซอร์และการบำบัดด้วยแสงในการรักษาสิว จะช่วยฆ่าเชื้อ P.acne ช่วยลดการอักเสบได้ จากการที่แสงมีผลต่อต้าน Cytokine action ซึ่งเป็นการสื่อสารระหว่างเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน อีกทั้งเลเซอร์ยังสามารถรักษารอยดำ หลุมสิว และรอยแผลเป็นจากสิวได้ด้วย

  • ส่วนการ รักษารอยสิว หลุมสิวด้วยวิธีอื่นๆ ได้แก่ Subcision, การขัดผิว Dermabrasion, การทำ Microneedling และ การฉีด filler

– Subcision เป็นการใช้เข็มเข้าไปตัดเนื้อเยื่อใต้หลุมสิวลึก ทำให้ผิวหนังชั้นล่างหลุดออกจากผิวหนังชั้นบน และปล่อยให้ร่างกายสร้างเนื้อเยื่อขึ้นมาเติมในส่วนนั้นเอง

– Dermabrasion เป็นการขัดผิวเพื่อให้หลุมสิวดูตื้นขึ้น ปัจจุบันไม่นิยมทำกันแล้วเนื่องจากเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มาก

– Microneedling เป็นเทคนิคที่รักษาได้ทั้งสิวอักเสบและรอยแผลเป็นจากสิว เป็นการใช้เข็มเล็กๆ จิ้มที่ผิวหนังเพื่อกระตุ้นเนื้อเยื่อบริเวณนั้น ให้ต่อมไขมันทำงานลดลง และกระตุ้นให้ผิวหนังเรียงตัวใหม่ ทั้งยังช่วยกระตุ้นให้เกิดการสร้างคอลลาเจน ทำให้รอยสิวตื้นขึ้นได้ แต่วิธีการนี้ไม่ใช่วิธีมาตรฐานที่รองรับโดย FDA ไทย

– ส่วนการฉีด filler เป็นการใช้ filler ฉีดลงไปที่หลุมสิวโดยตรง เป็นเหมือนการเติมเนื้อเยื่อด้านล่างหลุมสิว ทำให้หลุมสิวขนาดใหญ่ดูตื้นขึ้นได้ในเวลาสั้นๆ

วิธีรักษาสิวด้วยการปรึกษาแพทย์

การปรึกษาแพทย์เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการรักษาสิวก่อนตัดสินใจรักษาสิวด้วยวิธีใดๆ ก็ตาม เพราะแพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนังเป็นผู้เชี่ยวชาญจริง ที่สามารถบอกได้ว่าปัญหาสิวของเราเกิดจากอะไร ควรเริ่มรักษาที่ตรงไหน มีทางเลือกการรักษาใดบ้าง ทำอย่างไรสิวจึงจะไม่ดื้อยา และดีต่อสภาพผิวในระยะยาว

 

เรื่องเกี่ยวกับสุขภาพอื่นๆ ที่น่าสนใจ

 

ที่มาของบทความ

 

ติดตามเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพได้ที่ worldwarcraft-gold.com

สนับสนุนโดย  ufabet369