หนี้สาธารณะ 1

ในการจะหาคำตอบว่า ‘รัฐ’ กำลังมีฐานะทางการเงินเป็นเช่นไร ตัวเลขหนึ่งที่ต้องนำมาใช้ในการวิเคราะห์ก็คือ หนี้สาธารณะ (public debt) ซึ่งบ่งบอกถึงมูลค่าเงินกู้ของภาครัฐที่เป็นภาระต้องจ่ายคืน หากประเทศใดมีสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP สูง ก็อาจนำมาสู่การตั้งคำถามว่ารัฐจะมีความสามารถในการชำระคืนได้หรือไม่ ซึ่งอาจถือได้ว่าสั่นคลอนความเชื่อมั่นของสาธารณชนที่มีต่อสถานะการเงินและประเทศ รวมทั้งความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลเอง

หนี้สาธารณะ หมายถึงอะไร

“หนี้สาธารณะ” หมายถึง “การกู้ยืมเงินของรัฐบาลเมื่อรัฐบาลมีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย จึงจําเป็นต้องกู้เงินมาใช้จ่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลของประเทศกําลังพัฒนา แต่เดิมเรามักมีความรู้สึกเกี่ยวกับการก่อหนี้ยืมสินไปในทางที่ไม่ดี ครัวเรือนใดมีหนี้สินล้นพ้นตัวแสดงว่าฐานะการเงินไม่ดี สังคมอาจไม่ยอมรับนับถือประเทศใดมีหนี้สินอยู่มากแสดงว่าฐานะทางเศรษฐกิจไม่มั่นคงและอาจจะล้มละลายได้ ปัจจุบันแนวความคิดเหล่านี้เริ่มเปลี่ยนไป ผู้ที่ดําเนินธุรกิจเพียงเท่าที่มีทุนธุรกิจอาจไม่เจริญก้าวหน้า แต่ถ้ากู้เงินธนาคารมาลงทุนขยายกิจการตามโครงการอย่างรอบคอบแล้ว กิจการก็อาจจะเจริญก้าวหน้าจนสามารถชําระหนี้คืนและขยายกิจการให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ประเทศชาติก็ทํานองเดียวกัน รัฐบาลอาจมีความจําเป็นต้องใช้จ่ายเงิน เพื่อพัฒนาประเทศลงทุนสร้างถนนหนทางไฟฟ้า ประปา และพลังงานต่าง ๆ

หนี้สาธารณะของไทยในปัจจุบัน

จากข้อมูลของ สบน. พบว่าในช่วงปี 2012-2022 หนี้สาธารณะไทยเพิ่มขึ้นจาก 4.9 ล้านล้านบาท (45.5% ของ GDP) เป็น 10.3 ล้านล้านบาท (60.4% ของ GDP) โดยหนี้สินแต่ละปีเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 6.8%

หากสังเกตเพิ่มเติมจะพบว่าหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 เนื่องจากรายได้สุทธิของรัฐลดลง แต่งบประมาณที่รัฐจัดสรรกลับสูงขึ้น ส่งผลให้รัฐขาดดุลทางการคลัง (รายได้น้อยกว่ารายจ่าย) จนต้องกู้เงินเพิ่มเพื่อชดเชยการคลังที่ขาดดุล นอกจากนั้นแล้วยังมี พ.ร.ก. เงินกู้ ที่ออกมาเพื่อบรรเทาและฟื้นฟูประเทศจากวิกฤตอีก 1.5 ล้านล้านบาท

หนี้สาธารณะ ไทยมีอะไรบ้าง? ครบถ้วนหรือไม่?

ตาม พ.ร.บ. การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 หนี้สาธารณะหมายความถึง “หนี้ที่กระทรวงการคลัง หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจกู้ หรือหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน แต่ไม่รวมถึงหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ทำธุรกิจให้กู้ยืมเงิน ธุรกิจบริหารสินทรัพย์ หรือธุรกิจประกันสินเชื่อ โดยกระทรวงการคลังไม่ได้ค้ำประกัน และหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทย” โดยที่หน่วยงานของรัฐที่ว่าไม่รวมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและรัฐวิสาหกิจ ดังนั้นหนี้สาธารณะของประเทศไทยที่มีการติดตามสถิติและรายงาน จึงประกอบด้วย 4 ส่วนคือ

  • หนี้ที่กระทรวงการคลัง หรือหน่วยงานของรัฐกู้ (ไม่นับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)
  • หนี้ที่รัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันทางการเงิน ทั้งส่วนที่รัฐค้ำ/ไม่ค้ำประกันเงินกู้
  • หนี้ที่สถาบันทางการเงินของรัฐกู้ เฉพาะส่วนที่รัฐค้ำประกัน
  • หนี้อื่นที่รัฐค้ำประกันเงินกู้

เมื่อเทียบกับองค์ประกอบหนี้สาธารณะตามความหมายของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) พบว่าหนี้สาธารณะของไทยยังไม่ได้คำนึงถึงหนี้บางก้อน เช่น หนี้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (local government) หนี้ของกองทุนประกันสังคม (social security fund) หนี้ของธนาคารกลาง (Central Bank) เป็นต้น

นอกจากนั้น องค์ประกอบหนี้สาธารณะยังมีจุดอ่อนในตัวเองคือ นับแค่หนี้ที่มาจากการกู้เท่านั้น (debt) โดยไม่นับรวมถึงเงินชดเชยต่างๆ ที่รัฐจำเป็นต้องชำระคืนแก่หน่วยงานของรัฐที่ออกเงินล่วงหน้าในการดำเนินนโยบายตามที่รัฐบาลสั่ง ซึ่งถือเป็นช่องทางการดำเนินนโยบายยอดนิยม ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการสั่งให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ออกเงินอุดหนุนรายได้เกษตรกร เป็นต้น หนี้ประเภทนี้ถือเป็นหนี้การค้า ซึ่งถูกนับเป็นหนี้สินในทางบัญชี (liability) ที่รัฐบาลต้องจัดสรรเงินงบประมาณเพื่อมาใช้คืนในวันใดวันหนึ่ง ท้ายที่สุดจึงถือได้ว่าหนี้ส่วนนี้ก็เป็นภาระทางการเงินของ ‘สาธารณะ’ เพียงแต่ไม่ได้ใช้เครื่องมือทางการเงินในการกู้ยืมมาโดยตรง

หนี้สาธารณะ 2

ในอนาคตอาจมีหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 7.7 แสนล้านบาท

นอกจากหนี้กว่า 1.2 ล้านล้านบาทที่เป็นภาระต่อการคลังแล้ว หนี้อีกส่วนที่ 101 PUB พิจารณาคือ ‘หนี้สาธารณะที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต’ โดยหนี้สินเหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การอุดหนุนราคาพลังงานที่ยืดเยื้อ รัฐวิสาหกิจที่ฟื้นฟูกิจการไม่สามารถปฏิรูปองค์กรได้สำเร็จและต้องประสบปัญหาทางการเงิน รวมถึงการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของไทยที่จะสร้างภาระรายจ่ายด้านสวัสดิการเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด

ประกันสังคมคือระเบิดเวลาของหนี้สาธารณะ ต้องปฏิรูปก่อนที่จะสายเกินแก้

ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น แต่อัตราการเกิดลดลง ส่งผลให้ในอนาคตจำนวนผู้ส่งเงินสมทบเข้าประกันสังคมลดลง แต่ผู้ที่ได้รับเงินจากประกันสังคมเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะกรณีผู้สูงอายุ หากไม่มีการปรับโครงสร้างการส่งเงินสมทบและอาจทำให้ในปี 2029 ประกันสังคมมีรายจ่ายมากกว่ารายได้ และเงินกองทุนจะหมดในปี 2055 หากประกันสังคมล้มละลายและรัฐต้องจ่ายเงินให้แก่ผู้ประกันตนแทนอาจต้องจ่ายสูงถึง 1,756,494.8 ล้านบาทซึ่งเป็นตัวเลขหนี้สินประโยชน์ทดแทนที่กองทุนประกันสังคมจะต้องจ่ายให้ในกรณีต่างๆ โดยเกือบทั้งหมดเป็นเงินเกษียณอายุ ที่มีการประมาณการไว้เมื่อสิ้นปี 2021 แม้ระเบิดเวลาลูกนี้จะยังใช้เวลาอีกนานกว่าจะระเบิด แต่รัฐควรริเริ่มปฏิรูปประกันสังคมทันที


บทความที่เกี่ยวข้อง

ธปท.จ่อออก 3 กฎเบรกก่อหนี้

ตลาดหุ้นเอเชียปิดเช้าผสมผสาน นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจ

บีโอไอ ตั้งเป้าต่างชาติลงทุน 2 ล้านล้านบาท

คนแห่ลงทะเบียนทะลัก 4.47 แสนราย “อาคม”

สามารถติดตามบทความอื่นๆได้ที่ https://worldwarcraft-gold.com/

สนับสนุนโดย  ufabet369

ที่มา www.the101.world